skip to Main Content

เผยผลลัพธ์การพัฒนาแนวทางการใช้ยาปลอดภัยในตำบลพรุพี อำเภอบ้านนาสาร ปี 62-63

ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา กล่าวว่า ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี  และสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เกิดการบูรณาการทางด้านวิชาการ วิจัยและนวัตกรรมระหว่างสองหน่วยงาน และยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล และองค์ความรู้ ตลอดจนนวัตกรรมทางด้านสุขภาพและสาธารณสุขไปอีกขั้น

โดยผลงานจากงานวิจัย เรื่อง “ผลลัพธ์การพัฒนาแนวทางการใช้ยาปลอดภัยในตำบลพรุพี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี 2562 – 2563” ของคุณชมพูนุท เสียงแจ้ว กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นกรณีศึกษาที่มีความน่าสนใจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาผลลัพธ์การพัฒนาแนวทางการใช้ยาปลอดภัยในตำบลพรุพี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี 2562 – 2563 กลุ่มตัวอย่างคือครัวเรือน (ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ป่วย) ที่เป็นประชาชนกลุ่มเสี่ยงจำนวน 70 ครัวเรือน จากพื้นที่ในตำบลพรุพี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้จากการสุ่มหมู่บ้านและครัวเรือนเครื่องมือวิจัย เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสำรวจยาในครัวเรือน แบบบันทึกการตรวจร้านค้าปลีก แบบสอบถามความพึงพอใจจากคำแนะนำจากเภสัชกรร่วมกับการติดตามการรักษาทางผู้ป่วย ผ่านทางแอปพลิเคชั่นไลน์ หาค่าความเที่ยงได้เท่ากับ 0.93 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การหาความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ด้วยสถิติ pair t test

ทั้งนี้ จากปัญหาการใช้ยาเกินความจำเป็นเกือบทุกประเทศทั่วโลกยังคงส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยให้มีโอกาสเสี่ยงจากผลข้างเคียงและอันตรายจากการใช้ยา รวมถึงการเสียค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น ดังนั้น บทสรุปของการศึกษาครั้งนี้ได้แสดงให้เห็น คือ มีผลที่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดตามที่กำหนดไว้ (1) ครัวเรือนของประชาชนกลุ่มเสี่ยงพบยากลุ่มเสี่ยงที่ปนเปื้อนสารสเตียรอยด์ ไม่เกินร้อยละ 10 (2) ครัวเรือนของประชาชนกลุ่มเป้าหมายมียาปฏิชีวนะเหลือใช้เก็บไว้ ไม่เกินร้อยละ 10 ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานในปี 2562 -2563 ด้วยสถิติ t test ด้านเจตคติและพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้สูงอายุ ในปี 2562 เท่ากับ 9.40±2.10 ปี 2563 เท่ากับ 9.49±1.10  และ 10.86±1.31 ตามลำดับ และไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ด้านคะแนนความรู้ ในปี 2562 มีค่าเฉลี่ย 2.52 ± 2.01  และในปี 2563 มีค่าเฉลี่ย 4.53 ± 1.05  โดยพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ด้านเจตคติและพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในปี 2562 เท่ากับ 9.14±2.27 และปี 2563 เท่ากับ 11.10±1.07 และพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการพัฒนารูปแบบการติดตามผลการใช้ยาปฏิชีวนะ และการให้ความรู้เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะและการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปนเปื้อนสเตียรอยด์ นอกจากนี้ จากช่องทาง Line Official และ YOUTUBE พบว่า จากการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ดังนั้นจะเห็นได้ว่าควรมีการพัฒนาแนวทางการใช้ยาปลอดภัยต่อไป รวมถึงควรนำสื่อออนไลน์เข้ามาช่วยการติดตามผลการดำเนินงานด้านเภสัชกรรมภายใต้สถานการณ์โควิด-19  (รายละเอียดและเนื้อหาของงานวิจัยนี้ สามารถดาวน์โหลดได้จากลิงค์ด่านล่าง)

ลิงค์บทความวิจัย :  https://research.sru.ac.th/wp-content/uploads/sites/26/2021/04/research-result-62-63.pdf

Back To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า