skip to Main Content

สวพ.จับมือ ม.อุบลฯ เพิ่มศักยภาพการแข่งขันอุตสาหกรรมประมงน้ำจืดแบบครบวงจร

วันที่ 5 ตุลาคม 2566 เวลา 15.00 น. ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์และเครือข่ายสังคม และ ผศ.ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มอบหมายให้ ผศ.ดร.พงษ์ศักดิ์ นพรัตน์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วย ผศ.ดร.ชมพูนุท ชัยรัตนะ อาจารย์ปรีดามน คำวชิรพิทักษ์ อาจารย์ธรรมรัตน์ วาจาสัตย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีการประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตัวแทนศูนย์บ่มเพาะ สำนักจัดการทรัพย์สิน และผู้ประกอบการในพื้นที่ร่วมประชุมและสำรวจพื้นที่ความร่วมมือโครงการศึกษาวิจัยเชิงอุตสาหกรรมระบบเลี้ยงปลาดุกที่เพิ่มกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวสูง (โอเมกา-3) และผลิตภัณฑ์ปลาดุกโอเมกา-3 พลัสแช่แข็งเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมประมงน้ำจืดแบบครบวงจรในพื้นที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี ณ ห้องประชุมผดุงชาติ อาคารสถาบันวิจัยและพัฒนา โดยมี ศ.ดร.ภาวิณี ชินะโชติ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) ผู้แทนหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิโครงการฯ รศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นหัวหน้าโครงการฯ และคุณชัยยงค์ ภูมิพระบุ ผู้จัดการบริษัท โอเมกา แอนด์ ออร์แกนิค ฟาร์ม จำกัด ตัวแทนภาคเอกชนที่ร่วมโครงการ

ในการประชุมครั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้เลือกพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นพื้นที่ขยายผลงานวิจัยไปยังผู้ประกอบการสัตว์น้ำโดยร่วมกับทีมนักวิจัยเพื่อรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบเลี้ยงปลาดุกที่เพิ่มกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวสูง (โอเมกา-3) ต่อไป

Back To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า