skip to Main Content

คบว.สวพ.นำนวัตกรรมเตาเผาขยะชุมชนที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อการจัดการขยะแบบครบวงจรพื้นที่ตำบลขุนทะเล

วันที่ 17-18 มิถุนายน 2566 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์และเครือข่ายสังคม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ นพรัตน์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา อบรมเชิงปฏิบัติการและถ่ายทอดความรู้การสร้างนวัตกรรมเตาเผาขยะชุมชนที่มีประสิทธิภาพสูง กรณีศึกษาตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ ศูนย์เรียนรู้นิคมสร้างตนเอง ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม จำนวน 20 ครัวเรือน การสร้างนวัตกรรมเตาเผาขยะชุมชนที่มีประสิทธิภาพสูง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนวัตกรรมเตาเผาขยะชุมชนที่มีประสิทธิภาพสูง และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเตาเผาขยะชุมชน

โดยเตาเผาขยะชุมชนประสิทธิภาพสูง ตัวเตามีผนังสองชั้น ชั้นในจะมีช่องเติมอากาศทั้งสี่ด้านและตะแกรงด้านล่างของเตาที่ยกสูงขึ้นเพื่อให้อากาศไหลผ่านช่องด้านล่างเข้าไปช่วยในกระบวนการเผาไหม้ ผนังชั้นนอกจะเป็นฉนวนในตัวช่วยให้อากาศร้อนหมุนเวียนและนำควันกลับมาเผาซ้ำในห้องเผาไหม้ชั้นใน เมื่อมีการหมุนเวียนความร้อนภายในเตาระยะหนึ่งจะช่วยให้อุณหภูมิภายในเตาเพิ่มขึ้นประมาณ 600 องศาเซลเซียส ซึ่งเพียงพอที่จะสลายสารพิษในขยะก่อนปล่อยออกภายนอก โดยปล่องควันเจาะช่องรอบโดยรอบเพื่อดึงอากาศมาช่วยเผาไหม้ควันที่มีก๊าซพิษปะปนอยู่ที่ปลายปล่องอีกครั้งทำให้ควันเหลือน้อยมากหรือแทบไม่มีเลยซึ่งขึ้นอยู่กับความชื้นของขยะเป็นปัจจัยสำคัญ การใช้งานจะเติมขยะด้านบนโดยจะเน้นเผาขยะแห้งทั่วไปประมาณ 3% ของขยะที่มีอยู่ในชุมชน​ ทั้งนี้ ในส่วนของควันที่ถูกเผาซ้ำแล้ว​จะผ่านการบำบัดอีกขึ้นโดยใช้ถ่านกัมมันต์​เป็นตัวดูดซับ โดยนวัตกรรมดังกล่าวสามารถช่วยจัดการขยะในชุมชนได้อย่างดียิ่ง

Back To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า