วันที่ 21 พฤศจิ…
สวพ.ร่วมประชุม “สกสว.พบผู้บริหารหน่วยรับงบประมาณสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)”
วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2566 (08.30-15.30) ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์และเครือข่ายสังคม และ ผศ.ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา. เข้าประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พบผู้บริหารหน่วยรับงบประมาณสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) ณ ห้องบอลรูม โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพมหานคร
ในการประชุมครั้งนี้ ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ 18,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาตามพันธกิจ สร้างภาพรวมของการวิจัยไทย สร้างนักวิจัยเพิ่มขึ้นจาก 10% ด้วยวิธีนำนักวิจัยที่ร้างเวทีวิจัยกลับมาจัดเป็นกลุ่มงานวิจัย สร้างพื้นฐาน 5% เครื่องมือ 5% การนำไปใช้ประโยขน์ (RU) 5% โดยใช้เงินงบประมาณใหม่ ซึ่งปีนี้ได้มา 1500 ล้าน งบประมาณ reinventing 8,000 ล้าน สนับสนุนการตีพิมพ์ นอกจากนี้ สกสว. ยังจัดงบประมาณแบบเกินดุล ด้วยการแสวงหาจากแหล่งทุนภายนอกมาบูรณาการกับงบประมาณจาก ววน. จัดเรียงตามความสำคัญ โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรวิจัย ตลอดห่วงโซ่ของการพัฒนานวัตกรรมการหาหนทางในการนำผลจากการวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ขยายระบบบริหารโดยอิงระบบสารสนเทศกลางสู่หน่วยงาน ขยายผลการประเมินผลแบบ MERLP สู่หน่วยงาน มีการขับเคลื่อนตามแผนและงบประมาณ คือหน่วยงานจัดการทุน PMU แต่มหาวิทาลัย หน่วยงานวิจัย ต้องสนับสนุนต้นน้ำ สนับสนุนบุคลากร ปรับแผนพัฒนาจัดงบประมาณต่อเนื่องบูรณาการกับเป้าหมายวิจัย พัฒนาเป็น hub จัดงบประมาณสนับสนุน ST พลสงก่อน ใช้ TRIUP act เป็นหลัก ผลักดันงบ RU เปลี่ยนวิธีการจัดสรรงบ FF เพื่อเป้าหมายประเทศเพิ่ม ประมวลและวิเคราะห์งานที่ทำมาเพื่อการต่อยอด สร้างโอกาสในการ RU ร่วมกัน โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนางานวิจัยของชาติ อีกทั้งยังได้ประสบการณ์ที่หลากหลายจากตัวแทนมหาวิทยาลัย ศ.ดร.นพ.ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี มทร.ศรีวิชัย ผศ.ดร.วิภู รุโจปการ รองผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ คุณพชรดา อยู่สุข รองผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) และ รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว.
ความสำคัญของการบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม (research management) รวมถึงการติดตามและประเมินผลหน่วยรับงบประมาณจากกองทุนส่งเสริม ววน. โดย รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวถึง “การกระจายทุน ประจำปี 2567 จากงบประมาณ 18,000 ล้าน และสถาบันอุดมศึกษา 3,111 ล้าน FF พัฒนาศักยภาพด้าน ววน. ให้งานวิจัยตอบพันธกิจของมหาวิทยาลัย สนับสนุนให้เกิดการทำงานของหน่วยงานในระบบ ววน. แบบบูรณาการและเป็นเอกภาพ เพื่อสนับสนุนนงานมูลฐานครอบคลุมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ววน. มี Block Grant แต่จะไปวัดความสำเร็จตอนท้าย และมีการติดตามประเมินผล จุดมุ่งเน้นที่ชัดเจนในการวางแผนระยะ 5 ปี มีเป้าหมายเป็นรายปี ซึ่งแผนร้อยละ 60-65 เพื่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ โดยงานวิจัยสามารถตอบโจทย์เศรษฐกิจ 7+1 (Innovation Driven) สิ่งแวดล้อม งานวิจัยแนวหน้า และสังคม สิ่งสุดท้ายคือขายได้ มีเทคโนโลยีขั้นสูง การดูเรื่อง Licencing การพัฒนากลไกส่งเสริมด้านการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ สามารถเขียนโครงการเพื่อต่อเนื่องระยะเวลา 5 ปี ภายใต้ FF, Multiyear Committed Grant ในเรื่องการใช้ประโยชน์และผลลัพธ์ ที่มีระบบอยู่แล้ว นักวิจัยต้องเข้าไปคลิ๊กเรื่องการใช้ประโยชน์ ต่อยอดไปสู่การหาทุนแหล่งอื่นได้ ทำงานร่วมกันกับภาคเอกชนก็ได้ ไม่ต้องประเมินทุกปี หน่วยงานสถาบันอุดมศึกษาจะประเมินทุก 2 ปี เริ่มในปี 2567 และหากได้รับเงินไม่เกิน 5 ล้าน จะประเมินทุก 5 ปี หากได้มากกว่านั้นจะต้องประเมินทุก 2 ปี”