skip to Main Content

นักวิจัย มรส. ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565”

ระหว่างวันที่ 1-5 สิงหาคม 2565 ผศ.ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และ ผศ.เบญญา จริยวิจิตร รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา นำทีมนักวิจัย มรส. เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565” (Thailand Research Expo 2022) ณ ห้องบางกอคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

ผศ.ดร.นรา พงษ์พานิช กล่าวว่า แนวคิดในการนำผลงานวิจัยมาร่วมจัดแสดงและนำเสนอผลงานภายในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565” ครั้งนี้ คือ การส่งเสริมงานวิจัย ให้ต่อยอดและยกระดับจากผลการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ” หรือ U2T ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมีโครงการวิจัยที่ผ่านการพิจารณาและนำมาร่วมในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565” จำนวน 2 โครงการได้แก่ “โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ผงกล้วยน้ำว้าดิบ ตำบลพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร” และ “โครงการแปรรูปแป้งกล้วยน้ำว้าดิบและผลิตภัณฑ์เบเกอรี่จากผงกล้วยน้ำว้าดิบ ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร” ซึ่งคณะนักวิจัยทั้ง 2 โครงการได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและการเสวนาบนเวทีภายในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565”

โดยวันพุธ ที่ 3 สิงหาคม 2565 เวลาประมาณ 14.00 น. อ.ดร.ชวนพิศ เรืองจรัส สาขาวิชานวัตกรรมและทรัพยากรทางการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและการเสวนาบนเวที “กิจกรรมเปิดบ้านงานวิจัยและนวัตกรรม” (Research Expo Talk by NRCT) ในโครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ผงกล้วยน้ำว้าดิบ ซึ่งได้นำเสนอในประเด็นด้านความเป็นมาของงานวิจัย การใช้ประโยชน์ในเชิงสุขภาพจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และการต่อยอดในอนาคตของงานวิจัยครั้งนี้ อีกทั้ง ยังมีทีมงานสื่อสารมวลชนช่อง Thai PBS เข้ามาขอสัมภาษณ์และถ่ายทำข่าวเพิ่มเติม และเวลาประมาณ 15.30 น. อ.ดร.ณภัทร นาคสวัสดิ์ พร้อมด้วย อ.ดร.พัชณิยา เอกเพชร สาขาวิชาศิลปะการประกอบอาหารไทยและอาหารนานาชาติ วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว (เกาะสมุย) ในโครงการแปรรูปแป้งกล้วยน้ำว้าและผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ จากผงกล้วยน้ำว้าดิบ ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับทีมงานสื่อสารมวลชนของ วช. ในประเด็นการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่ากล้วยน้ำว้าดิบทดแทนแป้งสาลี สรรพคุณในการรักษา โรคกระเพาะและระบบทางเดินอาหาร ซึ่งสามารถติดตามและรับชมการให้สัมภาษณ์ได้ทาง Facebook สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

นอกจากนี้ ผศ.ดร.นรา พงษ์พานิช กล่าวเสริมว่า ภายใต้การขับเคลื่อนการสร้างสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ด้วยวิจัยและนวัตกรรม หรือ BCG Model ของ วช. จึงเชิญนักวิจัยที่เคยได้รับรางวัลจากมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติและมีผลงานที่สอดรับกับการขับเคลื่อนดังกล่าว คือ ผศ.ส.อ.ชัยนุสนธ์ เกษตรพงศ์ศาล สาขานวัตกรรมพลังงานเทคโนโลยีทดแทน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาร่วมจัดแสดงและนำเสนอผลงานวิจัย เรื่อง “นวัตกรรมเรือเผินน้ำ (Hydrofoil) ด้วยคอมโพสิต ยางธรรมชาติ” ในนิทรรศการศาสตร์และศิลป์งานวิจัยของมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 อีกด้วย

Back To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า