skip to Main Content

ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ นำทีมผู้บริหาร ลงพื้นที่สำรวจและศึกษาบ้านโบราณสมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ. 2312) ณ ตำบลบางใบไม้ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เมื่อวันพุธที่ 24 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้จัดโครงการ “สำรวจและศึกษาบ้านโบราณสมัยกรุงธนบุรี
(พ.ศ. 2312) เพื่อประเมินศักยภาพ และวางแผนการบูรณะ อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์” นำโดย ดร.สมปราชญ์
วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและจัดการทรัพย์สิน ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา นายธีรพันธุ์
จันทร์เจริญ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ผศ.ธาตรี คำหง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผศ.ดร.จิรศักด์
แซ่โค้ว คณบดีคณะครุศาสตร์ ผศ.ดร.ฐิติพงศ์ เครือหงส์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.แกล้วทนง สอนสังข์
รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และ ผศ.ดร.พงษ์ศักดิ์ นพรัตน์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา

ในการนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฯ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนา
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บัณฑิตวิทยาลัย
ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับภาคประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อสำรวจ ศึกษา
แนวทางการแก้ไขปัญหา การอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์บ้านโบราณดังกล่าวอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งสอดรับกับนโยบายเร่งด่วนของ
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  “MHESI
Quick Wins” ประกอบกับการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ที่ 1 “ด้านการพัฒนาท้องถิ่น” ภายใต้ “การทำงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
ศาสตร์” และการลงทุนร่วมเพื่อประสานประโยชน์ร่วมกันจากทุกภาคส่วนสำคัญ (Key Stakeholder) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
สุราษฎร์ธานี

โดย ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา กล่าวว่า คณะผู้บริหารดังกล่าวได้ร่วมกันสำรวจและศึกษาบ้านโบราณ
ดังกล่าว หรือ “บ้านขุนประจันศึกประชิต” ซึ่งตั้งอยู่ ณ ตำบลบางใบไม้ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเรือนไทยที่มี
สถาปัตยกรรมตามรูปแบบสมัยกรุงศรีอยุธยาที่นิยมปลูกกันในยุคนั้น โดยสร้างขึ้นช่วงประมาณ พ.ศ. 2312 ในยุคที่พระเจ้ากรุงธนบุรี
ยกทัพเรือมาตีก๊กเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ทำให้เมืองนครศรีธรรมราชแตกพ่าย แม่ทัพ นายกอง รวมถึงขุนดาบทะลวงฟันคนสนิท
ของเจ้าเมืองนครฯ ได้หนีมาตั่งบ้านเรือนอยู่ ณ ที่นี้จนถึงปัจจุบันนี้ ทั้งนี้ คณะผู้บริหารฯ ได้ร่วมกันหารือร่วมกับเจ้าของบ้านดังกล่าว
เพื่อเตรียมคณะทำงานศึกษา วิจัย และบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบูรณะ อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์บ้านโบราณหลังนี้
เป็น “แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์” แหล่งใหม่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Back To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า