skip to Main Content

18 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพร้อมด้วยทีมงานสถาบันวิจัยและพัฒนาฯ ได้เชิญผู้บริหารและผู้แทนนักวิจัยประชุมเพื่อชี้แจง แนวทางการประชุมเชิงปฏิบัติการ…

……….

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา
ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วย ผศ.เตชธรรม สังข์คร ผศ.ดร. พงษ์ศักดิ์ นพรัตน์
และ ผศ.เบญญา จริยวิจิตร รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และทีมงาน
สถาบันวิจัยและพัฒนาฯ ได้จัดประชุมเพื่อชี้แจง แนวทางการจัด “โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนางาน
วิจัยเชิงพื้นที่” ที่จะจัดขึ้นในวันพุธที่ 26 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุมศรีวิชัย อาคารกาญจนาภิเษกอนุสรณ์ ชั้น 3
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งได้เชิญผู้บริหารหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย และผู้แทนนักวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังและให้ข้อคิดเห็น เพื่อนำไปปรับใช้ในโครงการดังกล่าว

ในการนี้ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาได้เน้นย้ำถึงที่มาและความสำคัญของโครงการนี้ จากความสอดคล้อง
ตามพระราโชบาย ร.10 ทั้ง 4 ด้านยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏฯ ภายใต้ “พื้นที่เป้าหมายและพื้นที่
ความร่วมมือของมหาวิทยาลัยฯ” ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง รวมทั้ง “จุดเน้นเชิง
ยุทธศาสตร์” (Re-profile) ของ วช. ทีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “มหาลัยการพัฒนา
ชุมชนเชิงพื้นที่” และแนวคิด “SRU Re-inventing” ที่มี 6 จุดเน้นหลัก ได้แก่ ศูนย์ความเลิศทางด้านการพัฒนา
เกษตรคุณภาพและอาหารแปรรูป ศูนย์ความเลิศทางด้านการพัฒนาท่องเที่ยวยั่งยืน ศูนย์ความเลิศทางด้านการ
พัฒนาระบบสุขภาพและสังคมเป็นสุข ศูนย์ความเลิศทางด้านการผลิตและพัฒนาครูมืออาชีพ ศูนย์ความเลิศ
ทางด้านการพัฒนาธุรกิจและโลจิสติกส์ ศูนย์ความเลิศทางด้านฐานการพัฒนาดิจิทัลเพื่อสังคม
นอกจากนี้ ภายใต้ความร่วมมือภาคีเครือข่ายและการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ยังได้เชิญผู้เกี่ยวข้อง
เช่น ภาครัฐ ภาคประชาสังคม ผู้นำกลุ่ม/ชุมชน และวิศวกรสังคม ร่วมกันเสวนาเพื่อเสนอข้อคิดเห็น สภาพปัญหา
ความต้องการในพื้นที่ และนำมากำหนดเป็นกรอบและโจทย์การวิจัยและพัฒนา สำหรับเชื่อมโยงมาสู่นักวิจัยของ
มหาวิทยาลัยฯ ที่จะนำไปใช้ในการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (แบบชุดโครงการวิจัย หรือแบบโครงการวิจัยเดี่ยว
รายละเอียดจะประชาสัมพันธ์ต่อไป) งบประมาณเงินรายได้ ประจำปี 2564
สำหรับรูปแบบกิจกรรมจะเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยในภาคเช้าจะเป็นรูปแบบการเสวนาร่วมกันทั้งหมด
และภาคบ่ายจะเป็นรูปแบบการสนทนากลุ่มย่อย เพื่อให้นักวิจัยได้เข้าถึงความต้องการแก้ไขปัญหา และการพัฒนา
จากคนในพื้นที่ ต่อไป
Back To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า